Uncategorized

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

กายภาพเอาอยู่! อาการบาดเจ็บจากกีฬาอะไรบ้าง ที่รักษาหายได้ด้วยกายภาพ!

เชื่อว่านักกีฬาทั้งหลายน่าจะเจอปัญหาอาการปวดขา ปวดเข่า ปวดศอก ปวดหน้าแข้ง ปวดขาหนีบ มาแล้วแทบทุกคน วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวง่ายๆ เลยคือการหยุดพัก เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว #UNIQUECareBestFriend มีวิธีลัดแก้อาการปวดอย่างรวดเร็วมาฝาก แต่ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับโรคต่างๆ กันก่อน

อาการเหล่านี้ กายภาพบำบัดช่วยคุณได้ โดยที่ UNIQUE Care Station จะใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น shock wave therapy, high laser therapy, ultrasound เป็นต้น เพื่อลดอาการปวดลดอักเสบ คลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รักษาอย่างตรงจุด และครอบคลุมทุกบริเวณที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด ร่างกายฟื้นตัวเร็วและกลับไปใช้งานได้ปกติ

เจ็บสันหน้าแข้ง (Shin Sprint Syndrome) เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และเยื่อหุ้มกระดูก รอบๆกระดูกหน้าแข้ง (tibia bone) อาการปวดจะมีลักษณะเฉพาะตัวคือ ปวดบริเวณด้านในของหน้าแข้ง บริเวณที่กล้ามเนื้อสัมผัสกับกระดูก อันเป็นผลจากการใข้งานอย่างหนัก หรือการออกกำลังกายซ้ำๆของอวัยวะส่วนนี้

สาเหตุของอาการ

เกิดจากการฝึกที่หักโหม เร่งรัด ทำให้เกิดการใช้งานที่มากเกินไปจนร่างกายทนไม่ได้ คือเมื่อเกิดการกระแทกหรือใช้งานกล้ามเนื้อดังกล่าวซ้ำๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเยื่อหุ้มกระดูก ซึ่งเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น

อาการแสดง

ปวดตามแนวสันหน้าแข้งด้านใน จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นแบบเป็นค่อยเป็นค่อยไป อาจเกิดขึ้นขณะวิ่งหรือหลังจากหยุดพักแล้วก็ได้ เมื่อกดจะมีอาการเจ็บเป็นบริเวณกว้างตามแนวของกระดูกหน้าแข้ง แต่ไม่มีอาการชา เมื่อมีอาการควรหยุดพักรักษา ไม่ควรฝืนวิ่ง หรือฝึกแบบเดิมอีกต่อไป เพราะอาจทำให้เกิดภาวะบาดเจ็บที่รุนแรงกว่า เช่น กระดูกร้าว ตามมาได้

ใครสามารถเป็นโรคนี้ได้บ้าง ?

  • คนที่เพิ่งเริ่มวิ่งใหม่ๆ
  • คนที่เร่งการซ้อมมากเกินไป
  • การวิ่งบนพื้นแข็ง หรือใส่รองเท้าที่พื้นรองรับเท้าแข็ง
  • คนที่ชอบวิ่งเขย่งปลายเท้า หรือยกส้นเท้าให้ลอยตลอดเวลา
  • คนที่มีโครงสร้างร่างกายผิดปกติ เช่น เท้าแบน เท้าคว่ำบิดออกนอก

Rotator cuff tendinitis นั้นเป็นภาวะที่ส่งผลต่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยับข้อหัวไหล่ โดยเป็นภาวะที่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดการอักเสบหรือเกิดการระคายเคือง หรือที่เรียกว่า impingement syndrome นักกีฬาที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้การยกแขนขึ้นเหนือศีรษะนั้นมักจะเกิดภาวะนี้ เช่น นักว่ายน้ำ นักขว้างจักร นักเทนนิส นักแบทมินตัน นักบาสเกตบอล

สาเหตุการเกิด เป็นผลจากการที่หัวไหล่นั้นอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ใช้หัวไหล่ด้านใดด้านหนึ่งซ้ำๆ หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้การยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ เช่น การตีเทนมิส การว่ายน้ำเป็นเวลานาน

Rotator cuff tendinitis อาการเป็นอย่างไร ?

  1. อาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อไหล่โดยเฉพาะเวลายกหรือขยับไหล่
  2. อาจมีอาการปวดร้าวลงไปบริเวณต้นแขนได้ บางคน
  3. อาจมีอาการขัด ขยับไหล่ลำบาก
  4. อาจปวดตอนกลางคืนหรือปวดตอนอนก็ได้
  5. รู้สึกแขนล้าและไม่มีแรง
  6. สุดท้ายการเคลื่อนไหว จะลดลงและทำกิจกรรมบางอย่างลำบาก เช่น สระผม หวีผม เกาหลัง ติดกระดุมหรือรูดซิบที่อยู่ด้านหลัง

Tennis Elbow หรือโรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก เป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอก ก่อให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณข้อศอก แขนท่อนล่าง หรือข้อมือ

หากคุณมีอาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณของเจ็บข้อศอกด้านนอกได้!

  • เจ็บปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก
  • ถือแก้วน้ำก็ปวดมือปวดแขน
  • ไม่มีแรงกำมือ
  • บิดลูกบิดประตูไม่ได้

อาการของโรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก
ผู้ป่วยมักเจ็บปวดและมีอาการบวมบริเวณข้อศอกด้านนอก บางรายก็ปวดแขนท่อนล่าง หลังมือ หรือข้อมือร่วมด้วย โดยอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจปวดเล็กน้อยเฉพาะตอนขยับข้อมือและแขน หรือปวดมากอยู่ตลอดเวลาส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบในนักเทนนิส นักกีฬาอาชีพอื่น ๆ และผู้ที่ต้องเหยียดแขนหรือกระดกข้อมือซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน

สาเหตุของโรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก
Tennis Elbow เกิดจากการใช้งานแขนส่วนล่างซ้ำ ๆ หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน บางรายอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บอย่างฉับพลัน ทำให้เส้นเอ็นแขนบริเวณที่ยึดเกาะกับปุ่มกระดูกด้านข้างข้อศอกเกิดการบาดเจ็บและอักเสบตามมา โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการตีลูกเทสนิสหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นบ่อย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น วาดภาพ ตัดกระดาษ ขันน็อต ทำสวน เล่นไวโอลิน เป็นต้น

ใครมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้บ้าง? ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้แขนและข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำ ๆ เช่น ช่างประปา นักวาดรูป ช่างไม้ คนทำอาหาร ช่างก่อสร้าง แม่บ้าน ผู้ที่เล่นกีฬาบางชนิด เช่น เทนนิส แบดมินตัน สควอช พุ่งแหลน ซึ่งต้องใช้กล้ามเนื้อแขนส่วนล่างและข้อมือซ้ำ ๆ เป็นประจำ หรือเล่นกีฬาเหล่านั้นด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม

โรค Golfer’s elbow จะมีอาการปวดที่บริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านในและมีจุดกดเจ็บ บริเวณนี้เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กำมือและกระดกข้อมือ ซึ่งเกิดจากการใช้งานแขนซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกันในลักษณะงอข้อมือร่วมกับคว่ำมือ งานที่ต้องใช้แรงในการกำมือมาก ๆ หรืองานที่มีแรงสั่นสะเทือนต่อข้อศอกอย่างต่อเนื่อง เช่น การเล่นกอล์ฟ การพิมพ์งาน การเจาะถนน การกวาดบ้าน การบิดผ้า เป็นต้น

ทำให้เกิดแรงกระทำที่เอ็นของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องจนเกิดการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ เกิดการบาดเจ็บโดยมีการฉีกขาดของเส้นใยคอลลาเจน และ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ทำให้เกิดการเสื่อมของเอ็นในที่สุดโรคนี้มักพบในนักกอล์ฟ นักกีฬาที่ใช้การโยนหรือเหวี่ยงแขน และกิจกรรมที่ใช้แขนมากๆ

ลักษณะอาการ

  1. ปวดข้อศอกบริเวณปุ่มกระดูกด้านใน
  2. มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มกระดูกด้านใน
  3. ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มกระดูกด้านในบางรายอาจมีปวดข้อมือร่วมด้วย
  4. อาจมีอาการบวมร่วมด้วย
  5. มีอาการปวดมากเวลาทำกิจวัตประจำวันหรือกิจกรรมที่ใช้แขน

เอ็นเข่าด้านนอก (Lateral collateral ligament) ทำหน้าที่ ช่วยป้องกันไม่ให้เข่าหลวม เอียงไปด้านข้าง

สาเหตุการบาดเจ็บ เกิดจาก
1. เข่าบิดผิดจังหวะ
2.โดนกระแทกทางด้านนอก

โดยทั่วไปการบาดเจ็บข้อเข่าจากการเล่นกอล์ฟมักไม่ค่อยรุนแรง นอกจากจะมีการเสียหลักล้มเช่น ยืนตีในบริเวณพื้นที่ต่างระดับ มักพบมีการบาดเจ็บบริเวณเข่าซ้ายในนักกอล์ฟที่ตีด้วยมือขวา เพราะจะมีแรงบิดและรับน้ำหนักบนเข่าซ้ายค่อนข้างมาก
การบาดเจ็บที่รุนแรงจะพบได้บ่อยมากในกีฬาฟุตบอล, รักบี้, เทนนิส

อาการแสดง

  • เกิดเสียงภายในข้อขณะเกิดอุบัติเหตุ
  • ร้อน บวม แดง หลังการบาดเจ็บ ภายใน 1 ชั่วโมง
  • เกิดความรู้สึกว่าข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคง
  • ปวดมากเมื่องอเข่า และเกิดการเคลื่อนของ ส่วนต้นของกระดูกแข้ง (Tibea)

อาการปวดโคนขาหนีบหลังจากเล่นกีฬา “ADDUCTOR STRAIN” หรือ ”GROIN STRAIN

สาเหตุ

พบบ่อยในนักวิ่งหรือนักฟุตบอลหรือรักบี้ ซึ่งเป็นกีฬาที่ต้องมีการหักเลี้ยว การก้าวไปด้านข้าง อย่างรวดเร็ว ในกีฬาฤดูหนาวก็พบได้บ่อยเช่นกัน กลไกการบาดเจ็บเกิดจากการหมุนของขาออกนอกอย่างรุนแรง ขณะที่อยู่ในท่าขากาง ทำให้เกิดการยืด หรือฉีกขาดของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ Hip adductor หรือเรียกกันว่า ”ADDUCTOR STRAIN” หรือ ”GROIN STRAIN” และเชื่อว่าภาวะนี้มีสาเหตุพื้นฐานมาจากการบาดเจ็บ เล็กๆน้อยๆ ซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อ Hip adductor ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยกล้ามเนื้อ hip adductor เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา มี 3 มัด คือ

ปวดใต้ข้อพับเข่า (Hamstring muscle Strain) คือ การบาดเจ็บที่เกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ซึ่งทำหน้าที่งอเข่าที่มีชื่อว่ากล้ามเนื้อ Hamstring โดยอาการปวดส่วนมากนั้นมักจะเกิดที่บริเวณใกล้ข้อพับเข่า เนื่องจากเป็นรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่จะไปเกาะที่กระดูกต้นขา ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนแอ ที่ง่ายต่อการฉีกขาดเนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นใบของเส้นเอ็นที่มาเชื่อมต่อกันนั้น มันเป็นคนล่ะประเภท การยึดเกาะกันและกันจึงทำได้ไม่ดีทำให้ฉีกขาดได้ง่ายนั่นเอง

Iliotibial band syndrome (ITBS) ปวดกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านนอกพบได้บ่อยมากในนักวิ่ง นักปั่น หรือ นักเดินทางไกล ทำให้มีอาการปวดที่บริเวณหัวเข่าด้านนอก เป็นๆหายๆ โดยเฉพาะเวลาวิ่ง

อาการแสดง

  • มีอาการปวดบริเวณเข่าด้านนอก ร้าวขึ้นไปถึงต้นขาและสะโพก
  • อาจมีอาการบวมที่บริเวณข้อเข่าด้านนอก
  • กดแล้วเจ็บบริเวณเข่าทางด้านนอก

รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดลดอักเสบ คลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น shock wave therapy , high laser therapy , ultrasound เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาอาการปวดที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจน ทำให้อาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บบรรเทาลงและหายได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่ออาการปวดลดลงแล้วจะเริ่มฝึกการเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆข้อและฝึกยืดเยื่อหุ้มข้อเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ ให้สามารถกลับไปขยับและใช้งานได้ปกติ