
ออฟฟิศซินโดรม กลุ่มที่เป็นโรคนี้ไม่ได้ มาจากสาเหตุจากการนั่งทำงาน หน้าคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวนะคะ จะรวมถึงอาชีพอื่นที่ใช้ กล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ หลัง และแขน เป็นเวลานานๆ ติดต่อกันหลาายชั่วโมง เช่น อาชีพแม่บ้าน ทำอาหาร คุณแม่เพิ่งคลอดลูกเลี้ยงลูก ให้นมลูก รวมถึงทุกคนในครอบครัวที่ช่วยอุ้มลูกหรือหลาน กลุ่มงานช่างช่อมไฟ ช่างก่อสร้าง ช่างทาสี ที่ต้องเงยหน้าก้ม หน้าตลอดเวลา รวมไปถึงน้องนักเรียน นักศึกษาที่ใช้โทรศัพท์มือติดต่อกันหลายชั่วโมงใน 1วันและติดต่อกันทุกวัน รวมถึงแม่ค้าออนไลน์ทุกประเภท

เกือบทุกอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรังหรือที่เราเรียกว่า กลุ่มโรค ออฟฟิศซินโดรม จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ โรคอ้วน โรคปวดเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ ปวดหัวไมเกรน
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)
อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยและสามารถดูแลโดยนักภาพภาพบำบัด

อาการบอกเล่า จากคนไข้ที่เข้ามารับการรักษา คลินิกกายภาพบำบัดยูนิคแคร์ สเตชัน
เริ่มจากปวดตา ปวดหัว ปวดท้ายทอย เหมือนไมเกรน ตามด้วยอาการปวดคอ ปวดไหล่ ชาแขน ชาปลายมือ อาการคอเคล็ด คอตกหมอนบ่อยๆ และสุดท้ายเกิดการหมุนคอ เอียงซ้าย เอียงขวา ไม่สุดการเคลื่อนไหวมีอาการปวดตลอดเวลา สุดท้ายจนไม่สามารถนั่งทำงานได้เกิน10-15 นาทีจะมีอาการปวดหัวคอ บ่า ไหล่และหลัง ชาปลายมือ ชาแขนจน ทำงานไม่ได้ในที่สุด
เช็กอาการปวด…ออฟฟิศซินโดรม

- การนั่งทำงานซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ทรงท่าเคลื่อนไหวหดเกร็ง
- เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อคลายกล้ามเนื้อน้อยเพราะทำงานเพลิน จึงเกิดปมก้อนกล้ามเนื้ออักเสบซึ่งทำไห้เกิดอาการปวด
- หลังจากนั้น เราก็จะใช้กล้ามเนื้อมัดอื่นหรือมัดรอบข้างมากขึ้น เช่น แต่เดิมใช้กล้ามเนื้อคอบ่าในการทรงท่า ก็มาใช้ระดับเอวในการทรงท่า ใช้กล้ามเนื้อสะบักเพื่อช่วยเหลือกล้ามเนื้อบ่าไหล่ในการเคลื่อนไหวทดแทนการเคลื่อนไหวเดิมที่ทำไห้เกิดความเจ็บปวด
- ส่งผลให้การตึงตัวปมก้อนกล้ามเนื้ออักเสบมีมากขึ้น กระจายทั่วบริเวณข้างเคียง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นจนรบกวนการทำงาน

การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม