Piriformis Syndrome หรือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา หากมีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่ง เช่น นั่งทำงาน หรือขับรถ เป็นต้น

อาการของ Piriformis Syndrome
พิริฟอร์มิส คือ กล้ามเนื้อที่อยู่ภายในก้นใกล้กับสะโพก มีหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพกและช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ จึงจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของร่างกายและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลำตัวส่วนล่าง หากกล้ามกล้ามเนื้อชนิดนี้ไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่พาดผ่านขาทั้ง 2 ข้าง อาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง
- รู้สึกเจ็บเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น
- ปวดหลังช่วงล่าง
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัวส่วนล่าง เช่น วิ่ง หรือขึ้นบันได เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้

สาเหตุของ Piriformis Syndrome
โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเกิดแผลเป็น หรือภาวะเลือดออกที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส อันเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- เคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างผิดท่า
- ออกกำลังกายมากเกินไป
- วิ่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวขาอย่างต่อเนื่อง
- นั่งเป็นเวลานาน
- ยกของหนัก
- เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนล่าง เช่น ลื่นล้ม ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
การป้องกัน Piriformis Syndrome
แม้สาเหตุหนึ่งของ Piriformis Syndrome คือ การออกกำลังกายผิดวิธี แต่ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสมอาจส่งผลดีต่อร่างกายและช่วยป้องกันกลุ่มอาการนี้ได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำได้ ดังนี้
- อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
- เพิ่มระดับการออกกำลังกายเพียงทีละน้อย
- หลีกเลี่ยงการวิ่งบนทางลาดชันหรือพื้นผิวที่ขรุขระ
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน

Shock wave therapy เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
คลื่นShock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว