ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus : HNP)

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ โรคที่เกิดจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก รวมถึงการแตกของหมอนรองกระดูก หรือเกิดการปลิ้นออกมาของหมอนรองกระดูก ถ้าหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาเฉยๆ ไม่ได้กดทับรากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวด อย่างเดียวเป็นอาการปวดเฉพาะที่  ถ้าหากหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับ รากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างมาก คือ มีอาการปวดขาร่วมกับมีอาการชา และอ่อนแรง ได้

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • คนที่มีลักษณะงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนักโดยเฉพาะก้มยกของพร้อมกับมีการเอี้ยวตัว จะทำให้หมอนรองกระดูกฉีกขาด ได้แก่ พนักงานยกของ พ่อค้า แม่ค้า
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • ผู้ที่มีลักษระงานนั่งติดต่อกันนานๆ
  • ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ ล้ม หรือ นักกีฬาที่มีการปะทะกะทันหัน

การรักษาและระยะเวลาในการรักษา

       คลื่น Shock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว

“หมอนรองกระดูกทับเส้น” หายด้วยเครื่องดึงหลัง?

หากพูดถึงเครื่องดึงหลัง หลายคนจะคิดว่าน่ากลัว จริงๆ แล้วเครื่องดึงหลังของ #UniqueCareStation ไม่น่ากลัวเลยสักนิด แถมยังมีประโยชน์และมีส่วนช่วยให้หายจากโรคหมอนรองกระดูกด้ว.

เครื่องดึงหลังช่วยรักษาอะไรบ้าง?
📍ช่วยยืดกล้ามเนื้อหลังเพื่อลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
📍ช่วยลดการกดทับเส้นประสาทสันหลัง ส่งผลให้ลดอาการปวดหรือชาร้าวลงขาได้
📍ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น ช่วยลดแรงกดบนหนอนรองกระดูก
📍ช่วยเพิ่มการขยับตัวของข้อต่อทำให้มีการไหลเวียนของเลือดมากขึ้น

5 ท่าบริหาร แก้อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะความเสื่อมจากการสูญเสียน้ำในหมอนรองกระดูก ทำให้ความยืดหยุ่นลดลง เกิดการปริแตก ของเหลวในหมอนรองกระดูกทะลักออกมาทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง ทำให้มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ปวดร้าวบริเวณขา การป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง จะช่วยยืดอายุการใช้งานหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร อย่ารอช้า วันนี้ #UNIQUECareBestFriend มี 5 ท่าบริหาร กันอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาฝาก

ท่าที่ 1 นอนคว่ำ เอาหมอนค้ำที่หน้าอก ให้หลังแอ่นขึ้นเล็กน้อย
ท่าที่ 2 นอนคว่ำตั้งศอกขึ้น แล้วค่อยๆ หายใจเข้าออกลึกๆ ค้างไว้ 10 วินาที
ท่าที่ 3 นอนหงาย ใช้มือทั้งสองข้างวางไว้ข้างลำตัว ค่อยๆ แอ่นหลังขึ้น
ท่าที่ 4 นอนหงาย ยกแขนและเขา ดันหลังขึ้นแบบท่าสะพานโค้ง
ท่าที่ 5 ยืนตรง แล้วใช้มือแอ่นหลังเบาๆ ค้างไว้ 10 วินาที

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)

ในชีวิตประจำวัน เราใช้เท้าเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายทั้งยืน นั่ง กระโดด วิ่ง ทำให้ลงน้ำหนักไปที่เท้าเยอะที่สุด และเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยที่เท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 🔴 การลงน้ำหนักมาเกินไป 🔴 การเดินลงน้ำหนักแบบไม่เต็มเท้า จึงส่งผลต่อกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งมีจุดเกาะที่ข้อเข่าทำให้เมื่อกล้ามเนื้อน่องหดตัวเยอะเกินไป เกิดการดึงรั้งไปยังบริเวณข้อเข่า ทำให้รู้สึกปวดน่องและเข่าได้

“โรคข้อเข่าเสื่อม ” เข่าเสื่อมจะพบมากในวัยกลางคนจนไปถึงผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อคุณเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเริ่มมีอาการปวดเข่าบ่อยๆ ควรรีบพบนักกายภาพบำบัด

อาการของ เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  • เมื่อต้องเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบางอย่าง จะทำให้มีอาการเจ็บปวดและรู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก
  • เมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ ก็อาจทำให้เจ็บปวดและรู้สึกฝืดขัดที่ข้อเข้าได้เช่นกัน อาการอื่น ๆ ของเข่าเสื่อม ได้แก่ 
  1. เมื่อต้องเคลื่อนไหวจะมีเสียงเสียงลั่นในข้อ
  2. มีอาการกดเจ็บ
  3. เข่าอ่อนแรงและเสียมวลกล้ามเนื้อ
  4. ข้อเข่าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เสียความยืดหยุ่น ข้อติดหรือขยับได้ยาก มักจะเกิดขึ้นเวลาเช้าหรือต้องนั่งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความยากลำบากเวลาเดิน ขึ้นบันได หรือลุกจากเก้าอี

สาเหตุของ เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  •  การใช้งานหนักของ ข้อเข่า
  •  อ้วน น้ำหนักเกิน ดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 ทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น
  •  เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า
  •  โรคที่มีการอักเสบต่างๆ เช่น โรคเกาต์  รูมาตอยด์
  •  การติดเชื้อในข้อเข่ามาก่อน
  • เสื่อมตามอายุ

การป้องกัน เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  • การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น  ไม่นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิคุกเข่า  ลดการขึ้น ลงบันได ใช้ห้องน้ำชักโครกแทนนั่งยองๆ
  • การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย เช่น การรับประทาน อาหารจำพวกผักผลไม้ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมด ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และงดไขมันทรานส์ ได้แก่ อาหารทอด กะทิเคี่ยวแตกมัน เป็นต้น
  • การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง จะช่วยลดแรง กระแทกต่อเข่า

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • วางแผ่นร้อนเพื่อคลายกล้าม ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือประคบเย็นในกรณีมีอาการอักเสบ
  • รักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่นอัลตร้าซาวด์  ช็อคเวฟ กระตุ้นไฟฟ้า
  • บริหารร่างกาย เช่น ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและข้อต่อข้างเคียงช่วยให้พยุงข้อเข่าได้ดีขึ้น
Shock wave therapy   เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา


ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา

คลื่นShock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว

สาระน่ารู้ : By #UNIQUECareBestFriend

6 อาหารบำรุงกระดูกและข้อ กินแล้วข้อเข่าแข็งแรง

แม้โรคข้อเสื่อมจะเกิดกับวัยผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่เยาวรุ่นก็อย่าชะล่าใจไป เพราะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้เหมือนกัน หากเซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย #UNIQUECareBestFriend จะชวนไปกินอาหารบำรุงกระดูกและข้อ รู้ไหมว่า…การเลือกกินอาหารดีๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ …

  • 🐟ปลา ปลาจำพวกปลาทะเล ที่มีแคลเซียม หรือปลาแซลมอนที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูก
  • 🧈เต้าหู้ มีแคลเซียมเยอะกว่าน้ำเต้าหู้ เพราะผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด ถือเป็นแหล่งไฟเบอร์และแร่ธาตุที่ดี🧂งา งาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะงาดำที่มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก
  • 🥛นม แหล่งรวมอาหารแคลเซียมสูงที่สุด การรับประทานนม ชีส หรือโยเกิร์ต จึงช่วยบำรุงกระดูกและข้อได้อย่างดีเยี่ยม
  • 🥚ไข่ ในไข่แดงมีวิตามินดีช่วยในการดูแคลเซียมสู่เข้าร่างกาย ส่วนไข่ขาวก็อุดมไปด้วยโปรตีน
  • 🥦 ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี มะระขี้นก ใบชะพลู ผักกา ถัวพู เป็นต้น อุดมไปด้วยแคลเซียม เสริมสร้างการบำรุงกระดูก
ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรคนิ้วล็อค (Trigger finger)

“นิ้วล็อค เป็นภาษาที่เรียกกันง่ายๆ ตามอาการที่เป็น คือมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ สามารถงอนิ้วได้แต่เวลาเหยียดนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือหลายนิ้วเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อคไว้  เกิดจากการอักเสบและหนาตัวขึ้นของปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่งอนิ้วซึ่งอยู่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาขึ้นด้วยความลำบาก  มีการเสียดสีทำให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อคได้   พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุที่พบบ่อย 40 – 50 ปี มักเกิดกับผู้ที่ใช้ งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น งานบ้าน  การหิ้วหรือยกของหนัก การใช้กรรไกรเป็นระยะเวลานาน  เป็นต้น

อาการของ นิ้วล็อค (Trigger finger)

  • มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว
  • กำและเหยียดนิ้วไม่สะดวก
  • นิ้วติดหรือล็อคเมื่องอนิ้ว
  • รู้สึดขัดๆที่โคนนิ้ว
  • มีอาการเจ็บนิ้วเมื่อกำมือ
  • อาการจะเป็นมากเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
  • อาจคลำเจอก้อนบริเวณโคนนิ้ว
  • เมื่อกดบริเวณโคนนิ้วตรงปุ่มกระดูกจะปวดมากบริเวณที่กด
  • เมื่อกำมือ งอนิ้วมือเข้ามาแล้ว จะเหยียดนิ้วคืนออกไม่สะดวก เหมือนกับนิ้วล็อคติดอยู่

อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

   1. ระยะแรก  มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือ แต่ยังไม่มีอาการสะดุดหรือติดล็อค

   2. ระยะที่สอง มีอาการปวดที่เพิ่มขึ้นและสะดุดเวลาขยับ

   3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเมื่องอนิ้ว ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยเหยียดออก

   4. ระยะที่สี่ มีอาการอักเสบรุนแรงมากขึ้น บวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดได้ตรง ถ้าฝืนเหยียดจะปวดมาก

สาเหตุของ นิ้วล็อค (trigger finger)

  • การใช้งานของนิ้วมือมากๆและนานๆ ในท่ากำมือหรืองอนิ้วมือ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชีพและการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ พบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน แม่ครัว ช่างตัดเย็บผ้า ช่างทำผม ช่างซ่อม พนักงานบัญชี
  • เป็นมาแต่กำเนิด
  • ภาวะที่มีการหนาตัวขึ้นของเยื่อหุ้มเส้นเอ็น เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • ลดปวด ลดอักเสบ โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น อัลตร้าซาวด์ , ประคบร้อน , ประคบเย็น ,  Shock wave
  • บริหารร่างกาย โดยกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
Shock wave therapy    เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา

ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
คลื่นShock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด, Uncategorized

โรคข้อเข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

ในชีวิตประจำวัน เราใช้เท้าเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายทั้งยืน นั่ง กระโดด วิ่ง ทำให้ลงน้ำหนักไปที่เท้าเยอะที่สุด และเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยที่เท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 🔴 การลงน้ำหนักมาเกินไป 🔴 การเดินลงน้ำหนักแบบไม่เต็มเท้า จึงส่งผลต่อกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งมีจุดเกาะที่ข้อเข่าทำให้เมื่อกล้ามเนื้อน่องหดตัวเยอะเกินไป เกิดการดึงรั้งไปยังบริเวณข้อเข่า ทำให้รู้สึกปวดน่องและเข่าได้

“โรคข้อเข่าเสื่อม ” เข่าเสื่อมจะพบมากในวัยกลางคนจนไปถึงผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อคุณเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเริ่มมีอาการปวดเข่าบ่อยๆ ควรรีบพบนักกายภาพบำบัด

อาการของ เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  • เมื่อต้องเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบางอย่าง จะทำให้มีอาการเจ็บปวดและรู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก
  • เมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ ก็อาจทำให้เจ็บปวดและรู้สึกฝืดขัดที่ข้อเข้าได้เช่นกัน อาการอื่น ๆ ของเข่าเสื่อม ได้แก่ 
  1. เมื่อต้องเคลื่อนไหวจะมีเสียงเสียงลั่นในข้อ
  2. มีอาการกดเจ็บ
  3. เข่าอ่อนแรงและเสียมวลกล้ามเนื้อ
  4. ข้อเข่าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เสียความยืดหยุ่น ข้อติดหรือขยับได้ยาก มักจะเกิดขึ้นเวลาเช้าหรือต้องนั่งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความยากลำบากเวลาเดิน ขึ้นบันได หรือลุกจากเก้าอี

สาเหตุของ เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  •  การใช้งานหนักของ ข้อเข่า
  •  อ้วน น้ำหนักเกิน ดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 ทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น
  •  เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า
  •  โรคที่มีการอักเสบต่างๆ เช่น โรคเกาต์  รูมาตอยด์
  •  การติดเชื้อในข้อเข่ามาก่อน
  • เสื่อมตามอายุ

การป้องกัน เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  • การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น  ไม่นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิคุกเข่า  ลดการขึ้น ลงบันได ใช้ห้องน้ำชักโครกแทนนั่งยองๆ
  • การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย เช่น การรับประทาน อาหารจำพวกผักผลไม้ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมด ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และงดไขมันทรานส์ ได้แก่ อาหารทอด กะทิเคี่ยวแตกมัน เป็นต้น
  • การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง จะช่วยลดแรง กระแทกต่อเข่า

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • วางแผ่นร้อนเพื่อคลายกล้าม ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือประคบเย็นในกรณีมีอาการอักเสบ
  • รักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่นอัลตร้าซาวด์  ช็อคเวฟ กระตุ้นไฟฟ้า
  • บริหารร่างกาย เช่น ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและข้อต่อข้างเคียงช่วยให้พยุงข้อเข่าได้ดีขึ้น
Shock wave therapy   เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา


ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา

คลื่นShock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว

สาระน่ารู้ : By #UNIQUECareBestFriend

6 อาหารบำรุงกระดูกและข้อ กินแล้วข้อเข่าแข็งแรง

แม้โรคข้อเสื่อมจะเกิดกับวัยผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่เยาวรุ่นก็อย่าชะล่าใจไป เพราะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้เหมือนกัน หากเซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย #UNIQUECareBestFriend จะชวนไปกินอาหารบำรุงกระดูกและข้อ รู้ไหมว่า…การเลือกกินอาหารดีๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ …

  • 🐟ปลา ปลาจำพวกปลาทะเล ที่มีแคลเซียม หรือปลาแซลมอนที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูก
  • 🧈เต้าหู้ มีแคลเซียมเยอะกว่าน้ำเต้าหู้ เพราะผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด ถือเป็นแหล่งไฟเบอร์และแร่ธาตุที่ดี🧂งา งาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะงาดำที่มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก
  • 🥛นม แหล่งรวมอาหารแคลเซียมสูงที่สุด การรับประทานนม ชีส หรือโยเกิร์ต จึงช่วยบำรุงกระดูกและข้อได้อย่างดีเยี่ยม
  • 🥚ไข่ ในไข่แดงมีวิตามินดีช่วยในการดูแคลเซียมสู่เข้าร่างกาย ส่วนไข่ขาวก็อุดมไปด้วยโปรตีน
  • 🥦 ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี มะระขี้นก ใบชะพลู ผักกา ถัวพู เป็นต้น อุดมไปด้วยแคลเซียม เสริมสร้างการบำรุงกระดูก
ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

Piriformis Syndrome (กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท)

รักษายาก แต่เรารักษาได้ โรคนี้เป็นแล้วทรมาน นั่งก็โอ้ยปวด!!! จะนอนหงายนอนคว่ำก็ปวด เดินงอตัวเพราะยืดตัวตรงจะปวดมาก และยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งปวดยิ่งชาขาถึงน่องถ้าเป็นเตือนให้รีบรักษา ปรึกษาเราด่วนเราช่วยคุณได้ค่ะ

Piriformis Syndrome หรือกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา หากมีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่ง เช่น นั่งทำงาน หรือขับรถ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวลำตัวส่วนล่าง เช่น วิ่ง หรือขึ้นบันได เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้

อาการของ พิริฟอร์มิส (Piriformis Syndrome)

กล้ามเนื้อที่อยู่ภายในก้นใกล้กับสะโพก มีหน้าที่รักษาสมดุลของสะโพกและช่วยให้ต้นขาเคลื่อนไหวไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ จึงจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของร่างกายและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ลำตัวส่วนล่าง หากกล้ามกล้ามเนื้อชนิดนี้ไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่พาดผ่านขาทั้ง 2 ข้าง อาจส่งผลให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปวดและชาที่ก้นร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่มีอาการชาร้าวลงหน้าแข้งและน่อง
  • รู้สึกเจ็บลึกๆเมื่อใช้มือกดบริเวณก้น
  • ปวดหลังช่วงล่าง
  • ส่วนใหญ่นั่งจะมีอาการปวดเพิ่มขึ้น
  • ยืนก็ปวด จะเปลี่ยนอิริยบท จากนั่งลุกขึ้นยืนจะปวดแปล้บที่ก้น

นั่งขับรถเเบบมือโปร ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เรื้อรังเจ็บมาเยอะแล้วกับคำว่า ‘ปวดหลังจากการขับรถ’ บางทีก็ลามไปยันกล้ามเนื้อน่อง ทำเอาไม่สบายใจเอาเสียเลย

UNIQUECare จะพาไปทำฮาวทู ‘นั่งขับรถเเบบมือโปรยังไงให้ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่เรื้อรัง’

  1. ปรับที่นั่งและพนักพิง นั่งให้ชิดพวงมาลัยแบบพอเอื้อมมือถึง วางขาเหยียบคันเร่งไม่ให้หัวเข่าอยูาสูงกว่าสะโพก และปรับเบาะให้ทำมุม 100 – 110 องศา ให้คอและหลังศีรษะอยู่ตำแหน่งตรงกลางพนักพิงศีรษะ จะช่วยลดความอาการปวดที่คอ เอว ข้อมือ และไหล่ได้ดี
  2. เปลี่ยนวิธีการจับพวกมาลัย ควรจับพวงมาลัยในตำแหน่ง 9 นาฬิกาและ 3 นาฬิกา เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด ตำแหน่งนี้จะทำให้คุณวางข้อศอกบนที่วางแขนในรถ ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังส่วนบน
  3. ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อช่วยผ่อนคลายเท้าในเวลาสั้นๆ ไม่ให้ออกแรงใช้น้ำหนักไปที่เท้ามากเกินไป
  4. ปรับกระจกมองหลังให้เหมาะสม นั่งตัวตรงและปรับกระจกให้อยู่ในระยะระดับสายตามองเห็น จะได้ไม่ต้องชะเง้อดู
  5. พักระหว่างทาง หากต้องเดินทางไกลให้พักขับรถทุก 30 นาที

แต่ถ้าใครยังทำไม่หาย อาจต้องใช้กายภาพบำบัดเข้ามาช่วย โดยที่ #UniquecareStation มีบริการบำบัดอาการปวดอย่างเฉียบพลันอย่างตรงจุดโดด้วยเครื่องมือหลากหลายชนิด

กายภาพบำบัดช่วยรักษายังไง ?

การรักษาทางกายภาพบำบัด ทุกวันนี้มีเครื่องมือที่ทันสมัยประสิทธิภาพในการลดปวดสูงขึ้น เห็นผลเร็วขึ้น
1. SHOCK WAVE คลื่นกระแทกที่สามารถลดปวดบริเวณกล้ามเนื้อมัดลึกได้โดยตรง เมื่อคลายกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสได้ทำให้การกดทับเส้นประสาทไซอาติกลดลง อาการปวดจึงดีขึ้นตามลำดับ
2. High Power Laser
เป็นการรักษาด้วยคลื่นความร้อนลึกกำลังสูง ช่วยลดอาการปวด เร่งการซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยคลายกล้ามเนื้อมัดลึกได้โดยตรง

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

Office Syndromeโรคยอดฮิตกับทุกคนในปัจจุบัน

Office Syndrome, a disease with everyone nowadays

ออฟฟิศซินโดรม กลุ่มที่เป็นโรคนี้ไม่ได้ มาจากสาเหตุจากการนั่งทำงาน หน้าคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวนะคะ จะรวมถึงอาชีพอื่นที่ใช้ กล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ หลัง และแขน เป็นเวลานานๆ ติดต่อกันหลาายชั่วโมง เช่น อาชีพแม่บ้าน ทำอาหาร คุณแม่เพิ่งคลอดลูกเลี้ยงลูก ให้นมลูก รวมถึงทุกคนในครอบครัวที่ช่วยอุ้มลูกหรือหลาน กลุ่มงานช่างซ่อมไฟ ช่างก่อสร้าง ช่างทาสี ที่ต้องเงยหน้าก้ม หน้าตลอดเวลา รวมไปถึงนักเรียน นักศึกษาที่ใช้โทรศัพท์มือติดต่อกันหลายชั่วโมงใน 1วันและติดต่อกันทุกวัน รวมถึงแม่ค้าออนไลน์

Office syndrome is not caused by sitting at work. Just in front of the computer It will also include other occupations that use the muscles of the neck, shoulders, back, and arms for a long time over several hours, such as housewives, cooks, mothers who have just given birth to children, breast-feeding, and everyone in the family who helps carry the child or grandchild. The work group of firefighters, builders, and painters who have to keep their heads down all the time, including students who use their cell phones for hours in a row one day and consecutively every day, including all types of online sellers

ทุกอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรังหรือที่เราเรียกว่า กลุ่มโรค ออฟฟิศซินโดรม จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ โรคอ้วน โรคปวดเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ ปวดหัวไมเกรน

Almost all occupations are at risk of disease. Chronic neck and shoulder pain, or what we call “office syndrome,” may result in diseases and abnormalities in various body systems, such as the musculoskeletal system. Digestive system and absorption Cardiovascular system, hormonal system, eyes, and vision In relation to physical therapy work, it is a symptom that occurs mainly in the musculoskeletal system, obesity, chronic pain syndrome of unknown cause, and migraine headaches.

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยและสามารถดูแลโดยนักภาพภาพบำบัด

Office syndrome

Musculoskeletal symptoms are common and can be treated by a physical therapist.

อาการบอกเล่า   จากคนไข้ที่เข้ามารับการรักษา คลินิกกายภาพบำบัดยูนิคแคร์ สเตชัน
เริ่มจากปวดตา ปวดหัว ปวดท้ายทอย เหมือนไมเกรน ตามด้วยอาการปวดคอ ปวดไหล่ ชาแขน ชาปลายมือ อาการคอเคล็ด คอตกหมอนบ่อยๆ และสุดท้ายเกิดการหมุนคอ เอียงซ้าย เอียงขวา ไม่สุดการเคลื่อนไหวมีอาการปวดตลอดเวลา สุดท้ายจนไม่สามารถนั่งทำงานได้เกิน10-15  นาทีจะมีอาการปวดหัวคอ บ่า ไหล่และหลัง ชาปลายมือ ชาแขนจน ทำงานไม่ได้ในที่สุด
อาการบอกเล่า จากคนไข้ที่เข้ามารับการรักษา คลินิกกายภาพบำบัดยูนิคแคร์ สเตชันเริ่มจากปวดตา ปวดหัว ปวดท้ายทอย เหมือนไมเกรน ตามด้วยอาการปวดคอ ปวดไหล่ ชาแขน ชาปลายมือ อาการคอเคล็ด คอตกหมอนบ่อยๆ และสุดท้ายเกิดการหมุนคอ เอียงซ้าย เอียงขวา ไม่สุดการเคลื่อนไหวมีอาการปวดตลอดเวลา สุดท้ายจนไม่สามารถนั่งทำงานได้เกิน10-15 นาทีจะมีอาการปวดหัวคอ บ่า ไหล่และหลัง ชาปลายมือ ชาแขนจน ทำงานไม่ได้ในที่สุด

เช็กอาการปวด…ออฟฟิศซินโดรม

  • การนั่งทำงานซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ทรงท่าเคลื่อนไหวหดเกร็ง
  • เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อคลายกล้ามเนื้อน้อยเพราะทำงานเพลิน จึงเกิดปมก้อนกล้ามเนื้ออักเสบซึ่งทำไห้เกิดอาการปวด
  • หลังจากนั้น เราก็จะใช้กล้ามเนื้อมัดอื่นหรือมัดรอบข้างมากขึ้น เช่น แต่เดิมใช้กล้ามเนื้อคอบ่าในการทรงท่า ก็มาใช้ระดับเอวในการทรงท่า ใช้กล้ามเนื้อสะบักเพื่อช่วยเหลือกล้ามเนื้อบ่าไหล่ในการเคลื่อนไหวทดแทนการเคลื่อนไหวเดิมที่ทำไห้เกิดความเจ็บปวด
  • ส่งผลให้การตึงตัวปมก้อนกล้ามเนื้ออักเสบมีมากขึ้น กระจายทั่วบริเวณข้างเคียง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นจนรบกวนการทำงาน

Check for pain…office syndrome

• Repetitive work. for a long time, this makes the muscles that act in the posture of movement contract.
• When the body moves to relax less muscles because you are busy at work. Thus, causing inflamed muscle nodules that cause pain

• After that, we will use other muscles or bundle more around, for example, the neck and shoulder muscles were originally used for posture. Then, used the waist level in the posture. Or use the scapula muscles to assist the shoulder muscles in a motion that replaces the original movement that caused the pain.

• As a result, the tightness of the inflamed muscle nodules is increased. spread throughout the surrounding area, The pain becomes so severe that it interferes you’re your work life.

การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบันทางคลินิกกายภาพบำบัดยูนิคแคร์ สเตชันได้นำเครื่องมือ shock wave ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เข้ามารักษาร่วมกับเทคนิคทางกายภาพเพื่อ ลดอาการปวดเรื้อรังและการสะสมการตรึงตัวของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้ มีประสิทธิภาพ เพราะมีการเร่งซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีการบาดเจ็บด้วย 

Physical therapy treatment for office syndrome patients
Currently, Uniquecare Station Physical Therapy Clinic, incorporates innovative shock wave treatments combined with physical techniques to reduce chronic pain and the accumulation of immobilized muscles and nerves. It is effective because there is an accelerated repair of tissues that have been injured.

Shock wave therapy เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา

Shock wave therapy is the transmission of shock waves into the pain area. to stimulate the body to cause new injuries (re-injuries) in the problematic muscles and tendons Then the body will have a process of repairing new tissues (re-healing), which will help reduce pain. by reducing the amount of neurotransmitters that transmit pain signals and stimulating the release of analgesic substances.