ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรคข้อเสื่อมในวัยสูงอายุ

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุ

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุ ก่อภัยเงียบที่สร้างความเสียหายให้กับระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่างกาย ยูนิคแคร์สเตชัน จะพาไปทำความรู้จักและสังเกตสัญญาณเตือน ‘โรคปลายประสาทอักเสบ’ มาเช็กดูกันว่าคุณพ่อคุณแม่เริ่มมีอาการแบบนี้หรือยัง

“โรคปลายประสาทอักเสบ” ภาวะที่ระบบประสาทส่วนกลางบริเวณสมองและไขสันหลังที่ทำหน้าที่ส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • เริ่มรู้สึกแปล๊บเหมือนไฟช็อตปลายมือปลายเท้า
  • มีอาการแสบร้อนฝ่ามือฝ่าเท้า
  • ปวดแสบร้อนมากขึ้นเมื่ออากาศหนาว
  • ชาปลายมือปลายเท้า
  • รู้สึกอ่อนแรง หยิบจับของไม่ถนัด กำได้ไม่สุด

วิธีการรักษาโดยนวัตกรรมกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูด้วยเครื่อง High Intensity Laser จะส่งความร้อนลึกผ่านพลังงานแสงอินฟราเรดไปกระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื้อ ทำให้ช่วยลดอาการอักเสบของเส้นประสาทที่ลงลึกถึงชั้นเอ็นและกล้ามเนื้อมัดลึก รวมทั้งเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ลดอาการชา

#UNIQUECareBestFriend พร้อมให้คำปรึกษา ‘เพื่อน’ ทีมปวดหรือไม่ปวด มาเช็กสุขภาพ รวมทั้งเพื่อนที่มีอาการปวดเรื้อรังมานานหลายปี จะมารักษาจบปีนี้ที่ UNIQUE Careแอดเฟรนด์

UNIQUE CARE STATION ทั้ง 15 สาขาทั่วประเทศไทย

Line ID: @uniquecare.dm

มาเพื่อนกันคลิ๊กเลย : https://lin.ee/S3mNxj6 Website: https://atomic-temporary-155946911.wpcomstaging.com

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

กระดูกคอเสื่อม

ในภาวะปัจจุบัน โรคกระดูกคอเสื่อมในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นและระยะของอายุน้อยลง เพราะปัจจุบันมีการใช้งานกระดูกคอ กล้ามเนื้อคอเยอะขึ้น ตลอดเวลาเกิดขึ้นทั้งในผู้สูงอายุและวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะคนที่ชอบเล่นโทรศัพท์ หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือนั่งก้มคอนานๆ กลุ่มคนที่มีอาการ office syndrome ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรังที่เกิดจาก ปัจจุนเทคโนโลยี่เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่จะเป็น เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยเกษียนอายุงานแล้ว ก็ตามมีการใช้โทรศัพท์ เป็นเวลาหลายชั่วโมง หรืออาจตลอดเวลาก็ว่าได้
ผลที่ตามมาคือเกิดการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดสะบักเกิดการไม่สมดุลของกล้ามเนื้อทั้งสองข้าง และเกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อและมีการทำงานซ้ำๆนานๆต่อเนื่องกันของกระดูกคอ กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม จนถึงอาการรุนแรงคือปวดตลอดเวลาและมีอาการชาร่วม คือกลุ่ม ที่ปวดคอบ่าไหล่ นั่นเอง

อาการของกระดูกคอเสื่อม

ปวดต้นคอ ปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง หรือถ้ากระดูกคอเสื่อมแล้วจนหมอนรองกระดูกทรุดหนีบทับทับเส้นประสาท จะทำให้มีอาการปวดและชาลงแขนหรือปลายมือร่วมด้วย ในเคสที่มีอาการเรื้อรังมากๆจะชาแขนตลอดเวลาและมีอาการอ่อนแรงของแขนนิ้วมือร่วมด้วย

โรคกระดูกคอเสื่อมเกิดได้อย่างไร?

  • เมื่อมีการทำงานของคอ..กล้ามเนื้อและกระดูกคอจะทำงาน เมื่อทำงานช้ำไปช้ำมาในท่าเดิมๆนานหลายชั่วโมงระยะเวลายาวนานหลายปี
  • กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกคอตึง รั้งทำให้การเคลื่อนไหวฝืดเคือง และกระดูกต้องรับแรงกดแรงเครียด จากการเคลื่อนไหว
  • ทำให้เกิดข้อกระดูกเสื่อม และมีอาการปวด ถ้าเป็นเยอะขึ้นจะทำให้ปวดชาร้าวไปที่แขนและมีการปวดตลอดเวลา เช่น การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานและอาจทำให้เป็น Smartphone Syndrome

เช็กด่วน คุณถึงจุดเป็น Smartphone Syndrome รึยัง?

สายโซเชียลฟังทางนี้! ส่อง Instagram มากไป หรือไถ Tiktok มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันติดต่อกันนานๆ อาจเสี่ยงเป็นโรค Smartphone Syndrome ได้นะคะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราเป็นโรคนี้แล้ว ไม่ต้องห่วงค่ะ #UNIQUECareBestFriend จะมาช่วยเพื่อนๆ เช็กสัญญาณเตือนคุณถึงจุดเป็น Smartphone Syndrome รึยัง? ซึ่งจะมาในรูปแบบอาการดังต่อไปนี้

📍ปวดบริเวณคอ เพราะต้องก้มหน้าเกร็งคอเล่นมือถือนาน
📍ปวดข้อมือ แบบแปลบๆ เหมือนมีอาการเมื่อย แต่จริงๆ แล้วเส้นเอ็นอักเสบ จากการใช้ข้อมือบ่อยๆ
📍ข้อมือบวม เมื่อเส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นและไม่ได้รับการรักษาทันทีอาจทำให้เอ็นข้อมือบวมได้
📍นิ้วล็อก เป็นการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วบริเวณฝ่ามือ เพราะเกร็งนิ้วจับโทรศัพท์เป็นเวลานาน
📍ตาแห้ง การจ้องมือถือทำให้กระพริบตาน้อยลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ตาหลั่งน้ำตาไม่เพียงพอต่อการหล่อลื่นตา

การรักษาทางกายภาพบำบัด

โดยนักกายภาพบำบำบัด เราใช้เทคนิค ทางกายภาพบำบัดร่วมกับความร้อน และเครื่องมือนวัตกรรมใหม่ทางการภาพบำบัดได้แก่ Shock wave และ High laser เพื่อลดอาการปวดและ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำให้อาการปวด อาการชาลดลงหรือหายไปได้เลยและหลังจากนั้นเราก็แก้ไขกล้ามนื้อให้เกิดการสมดุลและแข็งแรงเพื่อไม่ให้เกิดการเสื่อมและทรุดมากขึ้น และเราจะไม่มีอาการปวดและชาอีกถ้าเรามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด

การรักษาโดยกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือที่ยูนิคแคร์ช่วยได้! เรามีเทคโนโลยี Elecrical Stimulation (ES) สำหรับคนไข้ที่มีอาการปวดระยะเริ่มต้น โดยเครื่องนี้จะทำหน้าที่ดังนี้

-ควบคุมอาการปวดเรื้อรังและฉับพลัน
-ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
-กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ
-ช่วยเพิ่มช่องหว่างระหว่างกระดูก ลดการกดทับตัวเส้นประสาท

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

ข้อไหล่ติด-เอ็นข้อไหล่อักเสบ

ถ้าคุณรู้สึกปวดขัดเมื่อขยับข้อไหล่ ยกแขนลำบากยกแขนไม่ได้เราช่วยได้ <<< หรือเราเรียกว่า “ข้อไหล่ติดข้อไหล่อักเสบ

อาการหลักที่คุณเจอ..แล้วไม่อยากทนปวดกับ ข้อไหล่ติด ข้อไหล่อักเสบ

  1. เอื้อมหยิบของด้านหลังไม่ได้ ไม่สามารถไขว้แขนไป ข้างหลังได้
  2. เอื้อมแขนหยิบของที่สูงไม่ได้หรือยกแขนไม่สุด
  3. ผลักแขนโดยออกแรงร่วมไปข้างหน้าไม่ได้เช่นผลัก เปิดประตู
  4. มีอาการปวดร้าวลงบริเวณต้นแขน หิ้วของหนักหยิบจับทำงานลำบาก เพราะอาการปวดจะเริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อเราฝืนทำงานในท่าทางที่เจ็บและกระตุ้นการปวด
  5. ปวดข้อไหล่เวลานอนตอนกลางคืน

สาเหตุของโรคข้อไหล่ติดข้อไหล่อักเสบ มาได้จากหลายสาเหตุ

  1. อายุ ที่เพิ่มมากขึ้นส่วนใหญ่เจอมากในหลุ่มอายุ40ปีขึ้นไปเพราะเกิดการเสื่อมของร่างกายกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อของไหล่ และพบเจอมากในผู้ที่มีโรคเบาหวาน
  2. เกิดจากการบาดเจ็บของข้อไหล่เช่นเกิดอุบัติเหตุหกล้ม หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่กระทบกับข้อไหล่ หรือมีการฉีกขาดของข้อไหล่
  3. เกิดจากอาการปวดจากกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำงานหนักหรือใช้แขนหัวไหล่ทำงานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงและติดต่อกันนานเป็นระยะเวลาสะสมเป็นเดือนหรือเป็นปี เช่นกลุ่ม office syndrome ปวดกล้ามเนื้ออคอบ่าไหล่ สะบักช่างไฟฟ้า แม่บ้าน เป็นต้น

วิธีการรักษาโรคข้อไหล่ติดสามารถหายเองได้แต่ใช้เวลานาน 2-3 ปี แต่การรักษาทางกายภาพบำบัดจะทำให้หายได้เร็วขึ้น

ข้อไหลติด
ถ้าคุณรู้สึกปวดขัดเมื่อขยับข้อไหล่ ยกแขนลำบากยกแขนไม่ได้เราช่วยได้ <<< หรือเราเรียกว่า ข้อไหล่ติดข้อไหล่อักเสบ

มารักษาอาการ ‘ไหล่ติด’ ให้หายขาด ด้วย 4 สเต็ปเทคนิคเฉพาะของยูนิคแคร์

  • ช็อกเวฟลดการยึดรั้ง คลายกลามเนื้อ ลดพังผืด
  • ไฮเลเซอร์ ลดกระบวนการอักเสบ
  • ดัดดึงข้อไหล่ ลดการยึดรั้ง
  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะที่อ่อนแรงจากการไม่ได้ขยับ

**แต่ปัจจุบันการรักษาทางกายภาพบำบัดได้มีเทคนิคทางกายภาพช่วยลดปวดร่วมกับเครื่องมือนวัตกรรมใหม่ shock wave and High laser ร่วมกับ Us combine เพื่อการรักษาให้ลดอาการปวด และสามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้เต็มประสิทธิภาพเต็มองศาการเคลื่อนไหวปราศจากอาการปวดและลดระยะเวลาในการรักษา เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรก

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรครองช้ำ ปวดฝ่าเท้า

โรครองช้ำ ” เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของ โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือ โรคเอ็นส้นเท้าอักเสบ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้าและฝ่าเท้าเวลาเดินลงน้ำหนัก ยืนนานๆ ในขณะที่บางรายอาจรู้สึกปวดส้นเท้ามากเมื่อตื่นนอน ซึ่งเกิดจากเอ็นพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ เกิดจากความเสื่อมของกระดูกเอ็น ฝ่าเท้า น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ลักษณะการใช้เท้า วิ่งเยอะเกินไป เดิน ยืน นานเกินไปใส่ส้นสูงเดินยืน เยอะเกินไป หรือเกิดการผิดรูปของเท้า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้มักจะเกิดหินปูนเกาะส้นเท้าทำให้ปวดมากขึ้นและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

อาการที่พบบ่อยในโรครองช้ำ

  • ปวดฝ่าเท้าตึงเอ็นร้อยหวายหลังเดินลงจากเตียงในก้าวแรกๆ
  • ปวดเมื่อเดินนานระหว่างวัน หยุดพักดีขึ้น
  • ปวดเวลาเดินบนพื้นแข็ง ต้องใส่รองเท้าเดินในบ้าน
  • มีอาการตึงเอ็นร้อยหวาย ตึงน่อง
  • ปวดเมื่อนั่งนานๆแล้วจะเปลี่ยนอิริยบทไปท่ายืน

สาเหตุที่พบบ่อยในโรครองช้ำ

  • มีภาวะเท้าแบน (เอ็นฝ่าเท้าโดนยืดตลอดเวลา)
  • ผู้ที่มีลักษณะงานยืนเดินนานๆ ร่วมกับสวมรองเท้าพื้นแข็ง หรือรองเท้าส้นสูงทำให้กดทับเอ็นฝ่าเท้าทำให้อักเสบ
  • การใช้งานฝ่าเท้าซ้ำๆ หรือนานเกินไป ปวดส้นเท้าเรื้อรัง
  • เอ็นร้อยหวายตึง ปวดน่องปวดข้อพับของเข่า
  • ออกกำลังกายหักโหม
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • โครงสร้างของกระดูกฝ่าเท้าไม่สมดุลกัน

สายส้นสูงมารวมกันตรงนี้ สาวๆ หลายคนต้องเจอกับอาการปวดเท้าเพราะรองเท้าส้นสูงมานาน วันนี้เราจะมาแจก 5 เคล็ดลับสวยปังและไม่พังสุขภาพเท้าให้สายส้นสูงกันค่ะ

  • เลือกขนาดให้พอดีเท้า ควรเลือกไซส์ที่พอดีกับเท้ามากที่สุดไม่หลวมหรือคับจนเกินไป เพราะจะทำให้ไม่สบายเท้าและเกิดรองเท้ากัดได้
  • เลือกส้นสูงเพียง 1 – 2 นิ้ว ความสูงของส้นรองเท้าที่เป็นมาตรฐานคือ 1-2 นิ้ว เวลาสวมจะทำให้ไม่รู้สึกเขย่งมากเกินไป
  • เลือกส้นหนา การสวมรองเท้าส้นหนาจะช่วยบรรเทาอาการปวดเท้า เพราะจะช่วยลดน้ำหนักที่ลงสู่เนินปลายเท้าและลดความเสี่ยงในการเกิดเอ็นร้อยหวาย
  • พักเท้า ควรพักเท้าจากรองเท้าส้นสูงอย่างต่ำ 3 ชั่วโมงต่อวัน และควรหารองเท้าแตะมาสลับใส่ระหว่างวัน
  • ยืนหลังตรง เวลาสวมรองเท้าส้นสูงควรยืนหลังตรง เพราะช่วยให้ร่างกายรองรับน้ำหนักอย่างมีสมดุล น้ำหนักจะไม่เทลงไปที่ปลายเท้า ทำให้เจ็บเท้า

การรักษาโรครองช้ำ

ในปัจจุบันการรักษารองช้ำ หรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบเรื้อรัง คลินิกยูนิคแคร์สเตชัน เราบำบัดรักด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัดร่วมกับเครื่องมือ นวัตกรรมใหม่ที่ ช่วยลดปวด ลดอักเสบ ซ่อมแซม เส้นเอ็นฝ่าเท้าที่ต้นเหตุโดยตรง โดยใช้คลื่น shock wave High Laser Ultarsound + Es รักษาอาการรองช้ำได้หายขาด เพราะการเป็นเอ็นข้อเท้าอักเสบ ไม่ได้รักษาแค่ฝ่าเท้า เรายังดูแลบริเวนกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า กล้ามเนื้อน่องให้แข็งแรงและไม่มีอาการบาดเจ็บปวด เพราะกลุ่มกล้ามเนื้อเหล่านี้ถ้าแข็งแรงและไม่มีการตึงบาดเจ็บหรือปวดจะช่วยให้ อาการปวดที่ฝ่าเท้าเราหายเป็นปกติและไม่กลับมาเป็นช้ำอีก 

‘โรครองช้ำ’ หรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ🦶🏻 แก้ด้วย นวัตกรรมใหม่ Shock Wave Therapy เทคนิคกายภาพบำบัดเฉพาะของยูนิคแคร์สเตชัน

🚶เดินก้าวแรกก็ปวด ย่ำเท้าก็ปวด และเจ็บส้นเท้าลามไปใต้ฝ่าเท้าเป็นอาการของโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือโรครองช้ำ โดยปกติแล้ว พังผืดใต้ฝ่าเท้ามีความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกบริเวณฝ่าเท้ารองรับอุ้งเท้า เมื่อเราใช้ชีวิตประจำ เช่น เดินหรือยืน น้ำหนักตัวจะตกลงบนฝ่าเท้า ทำให้อุ้งเท้าแบนราบกับพื้นมากขึ้น แรงที่ตกลงมาบนฝ่าเท้าจะส่งผลให้พังผืดเกิดการตึงตัว ยิ่งใช้งานฝ่าเท้าซ้ำๆ นานๆ ก็ทำให้พังผืดเกิดความเสียหาย และเสื่อมเร็ว

การรักษาสามารถใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดเพื่อลดปวด ด้วยเครื่องมือ Shock Wave จะช่วย

  • ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อ
  • ลดอาการปวดโดยจะไปลดสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณอาการปวด
  • ลดอาการอักเสบโดยไปยับยั้งกระบวนการอักเสบให้สั้นลง
  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือด

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

ภัยเงียบ สาเหตุของโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต

ภาวะสุขภาพดีสร้างได้จากการดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนทราบกันดี ซึ่งเห็นได้จากภาพในปัจจุบันที่หลายๆคนให้เวลากับการออกกำลังกายหรือใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลก็ยังคงมากอยู่ทุกวันไม่ว่าอายุน้อยหรืออายุมาก สะท้อนให้เห็นว่าขนาดคนยุคใหม่ใส่ใจต่อสุขภาพมากแล้ว ก็ไม่สามารถหนีพ้นการเจ็บป่วยไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ทั้งโรคเฉียบพลัน เรื้อรัง หรือที่มาแบบแฝงเป็นภัยเงียบก็ตาม

อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นกลุ่มอาการหนึ่ง ซึ่งเป็นทีรู้จักกันโดยทั่วไป แต่หลายๆคนอาจยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่มาของกลุ่มอาการนี้ โดยมีสาเหตุที่เป็นได้ทั้งภาวะเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นโรคหรืออาการที่มีสาเหตุเป็นภัยเงียบและส่งผลกระทบทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อาจมีที่มาจากโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาควบคุม อีกทั้งยังเกิดได้จากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อตัวสั่งการร่างกายอย่างสมองหรือระบบการทำงานของสมองให้ได้รับการบาดเจ็บ เพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต เราควรหันมาเอาใจใส่ต่อสุขภาพให้ดีที่สุดและมาทำความรู้จักกับโรคและสาเหตุของกลุ่มอาการนี้ให้มากขึ้น

โรคและสาเหตุที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง

  • หลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากการสะสมของลิ่มเลือดภายในสมองหรือส่วนอื่นของร่างกายหรือไขมันไปสะสมบริเวณผนังหลอดเลือดจนหลอดเลือดเกิดการตีบแคบ ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดความเสียหายต่อสมองบริเวณนั้น
  • หลอดเลือดสมองแตก เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดมีปัจจัยให้เกิดภาวะเปราะหรือบาง และร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้เกิดการโป่งพองและแตกของหลอดเลือดได้ หากเกิดการแตกของหลอดเลือดจะทำให้มีเลือดออกมากดเบียดเนื้อสมอง ส่งผลให้สมองส่วนนั้นได้รับความเสียหาย โดยการแตกของหลอดเลือดเกิดเป็นภาวะเฉียบพลันและอันตรายกว่าการตีบของหลอดเลือดสมอง
  • โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บของสมอง อาจเกิดจากการเกิดอุบัติเหตุที่มีแรงภายนอกมากระทบต่อศีรษะหรือเกิดก้อนเนื้อ ฝี ในสมองและทำให้สมองได้รับบาดเจ็บหรือถูกกดเบียด ซึ่งอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองหรือเกิดภาวะสมองบวมได้

อาการแสดงที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น

  • อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัว ขึ้นอยู่กับสมองส่วนใดได้รับการบาดเจ็บ
  • การรับความรู้สึกที่ผิดปกติทั้งทางผิวหนัง ความรู้สึกของข้อต่อ และการรับความรู้สึก-ควบคุมระบบขับถ่าย
  • การติดฝืดของข้อต่อ หรือการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มากขึ้น จากการที่ไม่ได้ใช้งานหรือเคลื่อนไหว
  • ความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ ในกรณีสมองส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับการบาดเจ็บ
  • ความผิดปกติในการพูด หรือรับรู้ จากการบาดเจ็บของสมอง
  • มีปัญหาในการกลืน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสำลัก
  • มีปัญหาในการทรงตัว เนื่องจากอาการอ่อนแรงและการรับความรู้สึกที่ผิดปกติไป
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็น ในกรณีที่สมองที่ควบคุมการมองเห็นได้รับบาดเจ็บ
  • เกิดอาการปวดหรือเวียนศีรษะ ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต เป็นต้น

ซึ่งการรักษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดสมอง ในการฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อจะมีช่วงเวลานาทีทอง คือช่วง3-6 เดือนแรกหลังจากการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จะทำให้การฟื้นตัวได้เร็วและชัดเจนกว่าเนื่องจากเป็นช่วงที่สมองกำลังฟื้นตัว

การรักษาทางกายภาพบำบัดต่อกลุ่มอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต

  1. การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา โดยการออกกำลังกายฝึกซ้ำๆจะช่วยให้สมองที่ได้รับบาดเจ็บเกิดการเรียนรู้ ฟื้นตัวกลับมา และมีกำลังกล้ามเนื้อที่มากขึ้น
  2. การรักษาเพื่อลดอาการปวด โดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการลดปวดต่างๆ ในกลุ่มอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต มักมีการติดฝืดของข้อต่อ หรือการตึงตัวของกล้ามเนื้อที่มากขึ้น จากการที่ไม่ได้ใช้งานหรือเคลื่อนไหว ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อไหล่และข้อไหล่หลุดหลวมจากการที่กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่อ่อนแรง
  3. การป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เมื่อกล้ามเนื้อเนื้อไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการออกกำลังกายและใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
  4. ฝึกการทำกิจวัตรประจำวันให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติมากที่สุด ซึ่งจะประกอบไปด้วย การฝึกทรงตัว ฝึกการเคลื่อนไหว ฝึกเดิน ฝึกขึ้นลงบันไดหรือฝึกการเคลื่อนไหวต่างๆ

ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรคปวดเรื้อรัง (MPS) Myofacial Pain Syndrom

Myofascial Pain Syndrome

          เป็นอาการปวดตามกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย มักปวดเป็นบริเวณกว้างโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน พบบ่อยในวัยทำงานทุกสาขาอาชีพ ความรุนแรงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน อาจปวดเพียงเล็กน้อยเป็นครั้งคราวแล้วหายได้เองหรือปวดรุนแรงกระทั่งขยับไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นๆหายๆ เรื้อรังไม่ถึงขั้นรุนแรงแต่สามารถบั่นทอนความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้

สาเหตุการเกิด

  • การใช้อิริยาบถที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นปัจจัยชักนำที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น เดินคอยื่น ไหล่งุ้มหรือหลังแอ่นมากเกินไป พนักงานรับโทรศัพท์ที่ต้องหนีบหูโทรศัพท์ไว้ที่ซอกคอ
  • การขากการออกกำลังกาย หรือใช้กายอุปกรณ์มากเกินความจำเป็น เช่น สวมปลอกเข่า หรือใส่ Lumber Support โดยไม่จำเป็น ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน
  • เป็นผลจากความผิดปกติทางกายที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น ขาสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน กระดูกหลังคด หรือไหล่ลาดมากเกินไป

ลักษณะอาการ

  1. ปวดตื้อๆลึกๆ(Deep dull aching)
    • เช่น ปวดบริเวณสะบัก จะปวดคล้ายสะบักจม
  2. ปวดร้าว(Referred pain)
    • อาการปวดของกล้ามเนื้อแต่ละตำแหน่งจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น Trapezius จะปวดบริเวณก้านคอ ขมับ กรามล่างและครอบคลุมถึงบริเวณศีรษะ
  3. ความรุนแรง
    • ความรุนแรงของอาการ มีได้ตั้งแต่ปวดเมื่อน่ารำคาญ จนถึงปวดรุนแรง

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • การรักษาด้วยคลื่นแสง (Laser)
  • การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)
  • การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
  • การรักษาด้วยการวางผ้าร้อน (Hot pack)
  • การรักษาด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Streching exercise)
  • การรักษาด้วยการออกกำลังกาย (Exerccise)
  • การรักษาด้วยเทปบำบัด (Kinesiology type)
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shok wave)

เคล็ดไม่ลับหลับสบาย..หายปวด