โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus : HNP)
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ โรคที่เกิดจากการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก รวมถึงการแตกของหมอนรองกระดูก หรือเกิดการปลิ้นออกมาของหมอนรองกระดูก ถ้าหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาเฉยๆ ไม่ได้กดทับรากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวด อย่างเดียวเป็นอาการปวดเฉพาะที่ ถ้าหากหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับ รากประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างมาก คือ มีอาการปวดขาร่วมกับมีอาการชา และอ่อนแรง ได้

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- คนที่มีลักษณะงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนักโดยเฉพาะก้มยกของพร้อมกับมีการเอี้ยวตัว จะทำให้หมอนรองกระดูกฉีกขาด ได้แก่ พนักงานยกของ พ่อค้า แม่ค้า
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
- ผู้ที่มีลักษระงานนั่งติดต่อกันนานๆ
- ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ ล้ม หรือ นักกีฬาที่มีการปะทะกะทันหัน

การรักษาและระยะเวลาในการรักษา
คลื่น Shock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว

“หมอนรองกระดูกทับเส้น” หายด้วยเครื่องดึงหลัง?
หากพูดถึงเครื่องดึงหลัง หลายคนจะคิดว่าน่ากลัว จริงๆ แล้วเครื่องดึงหลังของ #UniqueCareStation ไม่น่ากลัวเลยสักนิด แถมยังมีประโยชน์และมีส่วนช่วยให้หายจากโรคหมอนรองกระดูกด้ว.
เครื่องดึงหลังช่วยรักษาอะไรบ้าง?
📍ช่วยยืดกล้ามเนื้อหลังเพื่อลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
📍ช่วยลดการกดทับเส้นประสาทสันหลัง ส่งผลให้ลดอาการปวดหรือชาร้าวลงขาได้
📍ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น ช่วยลดแรงกดบนหนอนรองกระดูก
📍ช่วยเพิ่มการขยับตัวของข้อต่อทำให้มีการไหลเวียนของเลือดมากขึ้น

5 ท่าบริหาร แก้อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะความเสื่อมจากการสูญเสียน้ำในหมอนรองกระดูก ทำให้ความยืดหยุ่นลดลง เกิดการปริแตก ของเหลวในหมอนรองกระดูกทะลักออกมาทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง ทำให้มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ปวดร้าวบริเวณขา การป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง จะช่วยยืดอายุการใช้งานหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร อย่ารอช้า วันนี้ #UNIQUECareBestFriend มี 5 ท่าบริหาร กันอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาฝาก

ท่าที่ 1 นอนคว่ำ เอาหมอนค้ำที่หน้าอก ให้หลังแอ่นขึ้นเล็กน้อย
ท่าที่ 2 นอนคว่ำตั้งศอกขึ้น แล้วค่อยๆ หายใจเข้าออกลึกๆ ค้างไว้ 10 วินาที
ท่าที่ 3 นอนหงาย ใช้มือทั้งสองข้างวางไว้ข้างลำตัว ค่อยๆ แอ่นหลังขึ้น
ท่าที่ 4 นอนหงาย ยกแขนและเขา ดันหลังขึ้นแบบท่าสะพานโค้ง
ท่าที่ 5 ยืนตรง แล้วใช้มือแอ่นหลังเบาๆ ค้างไว้ 10 วินาที