ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไม่ใช่แค่พนักงาน ออฟฟิศ แต่รวมถึง ทุกอาชีพที่ใช้ แขน คอบ่า ไหล่ ในท่าทางเดิมการนั่งนานติดต่อกันหลายชั่วโมงต่อวัน เช่นคนขับรถ แม่บ้าน คุณแม่ที่ต้องอุ้มลูกดูแลลูก ช่างช่อมสายไฟ จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่
อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยและสามารถดูแลโดยนักภาพภาพบำบัด

เริ่มจากปวดตา ปวดหัว ปวดท้ายทอย เหมือนไมเกรน ตามด้วยอาการปวดคอ ปวดไหล่ ชาแขน ชาปลายมือ อาการคอเคล็ด คอตกหมอนบ่อยๆ และสุดท้ายเกิดการหมุนคอ เอียงซ้าย เอียงขวา ไม่สุดองศสการเคลื่อนไหวและมีอาการปวดตลอดเวลา สุดท้ายจนไม่สามารถนั่งทำงานได้เกิน10-15 นาทีจะมีอาการปวดหัวคอ บ่า ไหล่และหลัง ชาปลายมือ ชาแขนจน ทำงานไม่ได้ในที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดมีดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
- ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De Quervain’s tendonitis)
- นิ้วล็อก (trigger finger)
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
- ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
- หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)
แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
- การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
- การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
ความสำคัญของกายภาพบำบัดต่อการรักษากลุ่มอาการ
ออฟฟิศซินโดรม
กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
นักกายภาพบำบัดยังมีหน้าที่ในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการเหล่านี้อีก โดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินโครงสร้างร่างกายพร้อมปรับแก้โครงสร้างร่างกายให้เกิดความสมดุลและปกติ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล แนะนำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย
ระดับอาการ | การสังเกตอาการ | แนวทางแก้ไข |
---|---|---|
ระดับที่ 1 | อาการเกิดขึ้น เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที | พักสลับทำงานเป็นระยะๆยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายนวดผ่อนคลายออกกำลังกาย |
ระดับที่ 2 | อาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่ | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานรับการรักษาที่ถูกต้อง |
ระดับที่ 3 | อาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง | พักงาน/ปรับเปลี่ยนงานรับการรักษาที่ถูกต้อง |
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการ
ออฟฟิศซินโดรม
- ลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ/เอ็นกล้ามเนื้อ
- ลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ (immobilization) ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงถ้ายังจำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่องจากภาระงาน
- ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อลด/หลีกเลี่ยงการใช้งานบริเวณที่มีการอักเสบ
- ให้ความรู้ในการแก้ไขปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่
- การปรับท่าทางให้ถูกต้อง
- การปรับหรือแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย
- การลดการกดทับของกล้ามเนื้อหรือการหดสั้นของกล้ามเนื้อ
- การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
- การออกกำลังกายเพื่อการป้องกันและส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- การยืดกล้ามเนื้อ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบหัวใจและหลอดเลือด
- การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย
- การออกกำลังกายเพื่อปรับการทรงท่า (postural correction)
อย่างไรก็ดี การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีต่างๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือรักษาพังผืดในกล้ามเนื้อ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจากออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร
ปัจบันทางคลินิกกายภาพบำบัดยูนิคแคร์ สเตชันได้นำเครื่องมือ shock wave ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เข้ามารักษาร่วมกับเทคนิคทางกายภาพเพื่อ ลดอาการปวดเรื้อรังและการสะสมการตรึงตัวของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้ มีประสิทธิภาพ เพราะมีการเร่งซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีการบาดเจ็บด้วย

Shock wave therapy เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา
การรักษานี้เหมาะกับการรักษาปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจนมีผังผืดมายึดเกาะ รวมไปถึงอาการอักเสบเรื้อรังของเอ็นพังผืดที่เราเรียกกันว่า tendenopathy หรือ enthesitis ยกตัวอย่างเช่น
-กลุ่มอาการ office syndrome
– เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรัง
– เอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบเรื้อรังหรือรองช้ำ
– เอ็นข้อไหล่อักเสบเรื้อรัง
– เอ็นข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง
– เอ็นกล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง
– เอ็นหน้าแข้งอักเสบเรื้อรัง
-หรือกลุ่มคนที่มีการอักเสบเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างเรื้อรังมากกว่า 3-6 เดือน รักษาด้วยวิธีการต่างๆแล้วไม่เห็นผล แต่ยังมีอาการปวดเรื้อรังต่อเนื่อง
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
คลื่นShock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว