
Myofascial Pain Syndrome
เป็นอาการปวดตามกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย มักปวดเป็นบริเวณกว้างโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน พบบ่อยในวัยทำงานทุกสาขาอาชีพ ความรุนแรงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน อาจปวดเพียงเล็กน้อยเป็นครั้งคราวแล้วหายได้เองหรือปวดรุนแรงกระทั่งขยับไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นๆหายๆ เรื้อรังไม่ถึงขั้นรุนแรงแต่สามารถบั่นทอนความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้
สาเหตุการเกิด
- การใช้อิริยาบถที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นปัจจัยชักนำที่พบได้บ่อยที่สุด เช่น เดินคอยื่น ไหล่งุ้มหรือหลังแอ่นมากเกินไป พนักงานรับโทรศัพท์ที่ต้องหนีบหูโทรศัพท์ไว้ที่ซอกคอ
- การขากการออกกำลังกาย หรือใช้กายอุปกรณ์มากเกินความจำเป็น เช่น สวมปลอกเข่า หรือใส่ Lumber Support โดยไม่จำเป็น ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน
- เป็นผลจากความผิดปกติทางกายที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น ขาสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน กระดูกหลังคด หรือไหล่ลาดมากเกินไป

ลักษณะอาการ
- ปวดตื้อๆลึกๆ(Deep dull aching)
- เช่น ปวดบริเวณสะบัก จะปวดคล้ายสะบักจม
- ปวดร้าว(Referred pain)
- อาการปวดของกล้ามเนื้อแต่ละตำแหน่งจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น Trapezius จะปวดบริเวณก้านคอ ขมับ กรามล่างและครอบคลุมถึงบริเวณศีรษะ
- ความรุนแรง
- ความรุนแรงของอาการ มีได้ตั้งแต่ปวดเมื่อน่ารำคาญ จนถึงปวดรุนแรง



การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การรักษาด้วยคลื่นแสง (Laser)
- การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)
- การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
- การรักษาด้วยการวางผ้าร้อน (Hot pack)
- การรักษาด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Streching exercise)
- การรักษาด้วยการออกกำลังกาย (Exerccise)
- การรักษาด้วยเทปบำบัด (Kinesiology type)
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shok wave)