ความรู้โรคทางกายภาพบำบัด

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)

ในชีวิตประจำวัน เราใช้เท้าเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายทั้งยืน นั่ง กระโดด วิ่ง ทำให้ลงน้ำหนักไปที่เท้าเยอะที่สุด และเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยที่เท้า ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 🔴 การลงน้ำหนักมาเกินไป 🔴 การเดินลงน้ำหนักแบบไม่เต็มเท้า จึงส่งผลต่อกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งมีจุดเกาะที่ข้อเข่าทำให้เมื่อกล้ามเนื้อน่องหดตัวเยอะเกินไป เกิดการดึงรั้งไปยังบริเวณข้อเข่า ทำให้รู้สึกปวดน่องและเข่าได้

“โรคข้อเข่าเสื่อม ” เข่าเสื่อมจะพบมากในวัยกลางคนจนไปถึงผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะทำให้เกิดการเสียดสีจนสึกกร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า เข่าผิดรูปและทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือทำให้เกิดความยากลำบากและความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อคุณเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุหรือเริ่มมีอาการปวดเข่าบ่อยๆ ควรรีบพบนักกายภาพบำบัด

อาการของ เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  • เมื่อต้องเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบางอย่าง จะทำให้มีอาการเจ็บปวดและรู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก
  • เมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ ก็อาจทำให้เจ็บปวดและรู้สึกฝืดขัดที่ข้อเข้าได้เช่นกัน อาการอื่น ๆ ของเข่าเสื่อม ได้แก่ 
  1. เมื่อต้องเคลื่อนไหวจะมีเสียงเสียงลั่นในข้อ
  2. มีอาการกดเจ็บ
  3. เข่าอ่อนแรงและเสียมวลกล้ามเนื้อ
  4. ข้อเข่าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เสียความยืดหยุ่น ข้อติดหรือขยับได้ยาก มักจะเกิดขึ้นเวลาเช้าหรือต้องนั่งเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความยากลำบากเวลาเดิน ขึ้นบันได หรือลุกจากเก้าอี

สาเหตุของ เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  •  การใช้งานหนักของ ข้อเข่า
  •  อ้วน น้ำหนักเกิน ดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 ทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น
  •  เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า
  •  โรคที่มีการอักเสบต่างๆ เช่น โรคเกาต์  รูมาตอยด์
  •  การติดเชื้อในข้อเข่ามาก่อน
  • เสื่อมตามอายุ

การป้องกัน เข่าเสื่อม ( Knee Osteoarthritis)

  • การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น  ไม่นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิคุกเข่า  ลดการขึ้น ลงบันได ใช้ห้องน้ำชักโครกแทนนั่งยองๆ
  • การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย เช่น การรับประทาน อาหารจำพวกผักผลไม้ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมด ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และงดไขมันทรานส์ ได้แก่ อาหารทอด กะทิเคี่ยวแตกมัน เป็นต้น
  • การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง จะช่วยลดแรง กระแทกต่อเข่า

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • วางแผ่นร้อนเพื่อคลายกล้าม ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือประคบเย็นในกรณีมีอาการอักเสบ
  • รักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่นอัลตร้าซาวด์  ช็อคเวฟ กระตุ้นไฟฟ้า
  • บริหารร่างกาย เช่น ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและข้อต่อข้างเคียงช่วยให้พยุงข้อเข่าได้ดีขึ้น
Shock wave therapy   เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่(Re-Healing) จะช่วยลดปวดได้ โดยการลดปริมาณสารสื่อประสาทที่ส่งสัญญาณปวดและกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวดออกมา


ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา

คลื่นShock wave ไปกระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกแรงกดและการรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวหนัง และกระตุ้น mechanoreceptor ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการสร้างสารต้านอาการปวด(endorphins) ซึ่งทำให้ผลดังกล่าวคงอยู่นาน หลังทำอาการปวดที่เคยเป็นจากโรคนั้นมักจะหายไป 1-3 วัน แล้วจึงรู้สึกปวดขึ้นใหม่อีก แต่ปวดน้อยลงหรือห่างขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรกในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ โดยจำนวนครั้งในการรักษาส่วนใหญ่อยู่ ที่ 2-5 ครั้งก็เห็นผลเกินคาดแล้ว

สาระน่ารู้ : By #UNIQUECareBestFriend

6 อาหารบำรุงกระดูกและข้อ กินแล้วข้อเข่าแข็งแรง

แม้โรคข้อเสื่อมจะเกิดกับวัยผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่เยาวรุ่นก็อย่าชะล่าใจไป เพราะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้เหมือนกัน หากเซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อร่างกาย #UNIQUECareBestFriend จะชวนไปกินอาหารบำรุงกระดูกและข้อ รู้ไหมว่า…การเลือกกินอาหารดีๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ …

  • 🐟ปลา ปลาจำพวกปลาทะเล ที่มีแคลเซียม หรือปลาแซลมอนที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง จะช่วยบำรุงข้อต่อกระดูก
  • 🧈เต้าหู้ มีแคลเซียมเยอะกว่าน้ำเต้าหู้ เพราะผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด ถือเป็นแหล่งไฟเบอร์และแร่ธาตุที่ดี🧂งา งาเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะงาดำที่มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก
  • 🥛นม แหล่งรวมอาหารแคลเซียมสูงที่สุด การรับประทานนม ชีส หรือโยเกิร์ต จึงช่วยบำรุงกระดูกและข้อได้อย่างดีเยี่ยม
  • 🥚ไข่ ในไข่แดงมีวิตามินดีช่วยในการดูแคลเซียมสู่เข้าร่างกาย ส่วนไข่ขาวก็อุดมไปด้วยโปรตีน
  • 🥦 ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี มะระขี้นก ใบชะพลู ผักกา ถัวพู เป็นต้น อุดมไปด้วยแคลเซียม เสริมสร้างการบำรุงกระดูก